ทำความสะอาดหม้อน้ำรังผึ้งด้านนอก ตรวจสอบเดินเครื่องยนต์และตรวจสอบค่าต่าง ๆ เช่น แรงดันไฟฟ้า
ความถี่ อุณหภูมิเครื่องยนต์ แรงดันน้ำมันเครื่อง ตรวจสอบระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ ขั้วและสายแบตเตอรี่ ตรวจสอบเครื่องประจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่ ไล่ความชื้นและน้ำออกจากที่กรองน้ำมันเชื้อเพลิง ทำความสะอาดหม้อน้ำรังผึ้งด้านนอก
การบำรุงรักษาโดยช่าง ระยะเวลา วิธีปฏิบัติ ผลการตรวจสอบ ทุกรอบ 3 เดือน หรือ 250 ชั่วโมงการใช้งาน ถ่ายน้ำมันหล่อลื่น เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันหล่อลื่นทำความสะอาดไส้กรองอากาศ ตรวจสอบท่อยางและเหล็กรัดท่อ ตรวจสอบน๊อตและสกรูของจุดต่อสายไฟ ตรวจสอบข้อต่อส่งกำลัง ทุกรอบ 6 เดือนหรือ 500 ชั่วโมงการใช้งาน เปลี่ยนไส้กรองอากาศ เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง ทุกรอบ 12 เดือนหรือ 1,000 ชั่วโมงการใช้งาน ปรับตั้งระยะห่างวาล์ว ถ่ายน้ำหล่อเย็น ทำความสะอาดหม้อน้ำรังผึ้งด้านใน ขันน๊อตฝาสูบและเสื้อสูบ ถ่ายน้ำและเศษสกปรกออกจากถังน้ำมันเชื้อเพลิง ตรวจสอบใบพัดระบายอากาศ ตรวจสอบรอยรั่วซึมที่หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ตรวจสอบ Shutdown Sensors6. ข้อควรระวังในการใช้งาน
ก่อนจะตรวจเช็คอุปกรณ์ใด ๆ ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ถ้าระบบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นแบบจ่ายกระแสอัตโนมัติ ให้ปรับไปที่ตำแหน่ง OFF หรือปลดขั้วสายแบตเตอรี่ออกเสียก่อน เพื่อป้องกันเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องยนต์สตาร์ทเองขณะทำการตรวจเช็ค ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องยนต์ยังร้อนอยู่ ไม่จ่ายกระแสเกินกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไม่ควรปรับอุปกรณ์ใด ๆ ขณะจ่ายกระแสไฟฟ้า ถ้ามีความผิดปกติใด ๆ ให้งดจ่าย Load แล้วจึงทำการแก้ไข ไม่ควรทิ้งเครื่องยนต์โดยไมมี่ผู้ดูแลขณะเครื่องกำลังทำงานอยู่ ไม่ควรเปิด-ปิดเบรกเกอร์สำหรับจ่าย Load บ่อย ๆ โดยไม่จำเป็น สถานที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องมีการระบายอากาศเป็นอย่างดีและไม่ควรมีฝุ่นละออง ไม่เป็นสถานที่เก็บสารเคมีหรือวัตถุไวไฟอื่น ๆ นอกจากน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์เท่านั้น ขณะจ่าย Load ควรตรวจสอบกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า ความถี่ทางไฟฟ้าอยู่เสมอ ขณะจ่าย Load ควรตรวจสอบแรงดันน้ำมันเครื่องและอุณหภูมิของเครื่องยนต์ ในการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำเป็นต้องเดินสายดินโดยต่อกับแท่งทองแดงหรือ Ground Rod ที่ฝังอยู่ใต้ดินตามมาตรฐานกำหนด ทั้งนี้ต้องต่อทั้งตัวเครื่องยนต์และตู้ควบคุม